วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 6 เรื่อง ระบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในขณะที่หลายคนอาจจะนึกถึงเฉพาะการค้าบนเว็บอย่างเดียว การค้าแบบซื้อมา-ขายไปในส่วนของหน้าร้านมีหลายแบบได้แก่
1. การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับองค์กรธุรกิจ
2. การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค
3. การค้าระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน

การทำธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ หรืออินเทอร์เน็ต เป็นสื่อกลาง โดยมีการประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรม
จุดประสงค์หลักของการนำเอาระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ มีกระบวนการทางธุรกิจเพื่อ
1. ลดต้นทุน
2. ประหยัดเวลา
3. เพิ่มประสิทธิภาพ
4. ขยายตลาด


E-business Model สำหรับการค้า E-commerce

1. แบบซื้อมา – ขายไป
2. แบบสื่อกลางด้านข่าวสาร
3. แบบสื่อกลางด้านความไว้ใจ
4. แบบขายเครื่องมือในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5. การให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน


E-marketplace และแนวโน้มการค้าบนเว็บในอนาคต


เป็นแนวโน้มของการค้าบนเว็บ ความจริงไม่ได้แตกต่างกับการสร้างตลาดทำการค้าขายปลีกแต่อย่างใด แต่สร้างขึ้นมาได้โดยอาศัยเพียงการสร้างภาพเท่านั้น ไม่ต้องมีตึกแถว ไม่ต้องมีคอมเพล็กซ์ใหญ่โต และใช้เงินทุนที่ต่ำมากกว่าการสร้างตลาดจริง ๆ
ข้อควรพิจารณา คือ ผู้ที่จะเข้าไปร่วมค้าในตลาดใดตลาดหนึ่งก็ต้องพิจารณาเงื่อนไขให้รอบคอบว่าจะได้หรือเสียมากกว่ากัน


ปัจจัยที่ทำให้การค้า E-commerce ไม่ประสบผลสำเร็จ

1. การลอกเลียนแบบ
2. การอยู่กับความฝัน
3. ทำเว็บไซต์ที่วิจิตรสวยงาม
4. ทำเว็บไซต์แบบไร้ทิศทาง
5. ไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอ
6. ทำงานได้ทีละอย่าง
7. คิดเล็กเกินไป


ปัจจัยที่ทำให้การค้าบนเว็บประสบความสำเร็จ


1. กล้าตัดสินใจ
2. หน้าที่หลักของท่านคือการคิดเรื่องการตลาด
3. โปรแกรมด้าน E-commerce
4. ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
5. เร่งงานให้เสร็จตามกำหนดเวลา


กลยุทธ์การทำตลาดเว็บไซต์เพื่อ E-commerce


1. การสร้างเว็บไซต์ให้น่าสนใจ
2. มองหาเว็บไซต์อื่นเพื่อที่จะฝากลิงค์
3. สร้างสังคมออนไลน์ภายในเว็บไซต์ของเรา
4. การแลกแบนเนอร์ให้กับเว็บไซต์
5. โฆษณาขายสินค้าออนไลน์
6. นำจำนวนนับมาแปะไว้ในเว็บไซต์
7. การใช้สื่ออื่นเพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์


หลักการดำเนินธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต


1. พัฒนาเทคโนโลยีด้านการขายให้เท่าทันกับคู่แข่งขัน
2. จัดเตรียมเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ฝึกอบรมพนักงานขาย
4. ดำเนินการทดลองขาย
5. ขั้นการประเมินผล


ภัยคุกคามและโอกาสทางการตลาดของผู้ประกอบการไทย
ภัยคุกคาม


1. ธุรกิจที่ไม่เข้าสู่ web มีโอกาสล้ม
2. ผู้นำเข้าและผู้บริโภคในประเทศเป้าหมายมีโอกาสเลือกสินค้าจากเว็บไซต์ของคู่แข่งขันทั่วโลกมากขึ้น
3. กิจการในต่างประเทศทะลุเข้ามาขายสินค้าในประเทศไทย เท่ากับเป็นการเพิ่มจำนวนคู่แข่งขันในตลาดของเราได้อย่างรวดเร็ว
4. การขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตทำให้ต้นทุนด้านการตลาด การบริหาร และราคาขาย สินค้าส่งออกถูกลงอย่างมาก ทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น
5. ผู้นำเข้าทั่วโลกที่มีระบบอินเทอร์เน็ตต้องการทำการค้าผ่านทางการค้าอิเล็กทรอนิกส์


โอกาส


1. ผู้ส่งออกรายเล็ก – กลางมีโอกาสโค่นหรือต่อสู่บริษัทขนาดใหญ่ได้
2. เริ่มต้นทำธุรกิจส่งออกได้ด้วยเงินทุนที่ต่ำ
3. มีโอกาสสร้างธุรกิจใหม่ให้กับความต้องการหลากหลายจากทั่วโลก
4. การขยายตลาดหรือขับกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำกิจกรรมทางการตลาดได้โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำมาก
5. สามารถติดต่อกับลูกค้าได้โดยตรงทุกระดับไม่เฉพาะผู้นำเข้า ทำให้การปรับตัวตามความต้องการทำได้ง่าย และเลือกที่จะค้าได้โดยตรงกับผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีกหรือผู้บริโภค
6. ผู้ส่งออก ประเภท SME ซึ่งมีขนาดเล็กจะเคลื่อนตัวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดบน web ได้เร็วกว่าองค์กรขนาดใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น