วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 7 เรื่อง ระบบปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึง การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติงานแทนที่มนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญญาประดิษฐ์ คือ ความพยายามให้การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ระบบต่าง ๆ จะต้องมีความสามาระเข้าใจภาษามนุษย์ ทำงานที่ต้องการประสานงาน ระหว่างส่วนต่าง ๆ


1. ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ “ความพยายามใหม่อันน่าตื่นเต้นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้ เครื่องจักรที่มีสติปัญญาอย่างครบถ้วนและแท้จริง
การทำให้เป็นอัตโตมัติของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ กิจกรรมอันได้แก่ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้”
2. ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ “วิชาของการสร้างเครื่องจักรที่ทำงานในสิ่งซึ่งอาศัยปัญญาเมื่อกระทำโดยมนุษย์
การศึกษาวิธีทำให้คอมพิวเตอร์กระทำในสิ่งที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าในขณะนั้น”
3. ระบบที่คิดอย่างมีปัญญา “การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญาโดยการใช้โมเดลการคำนวณ
การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ”
4. ระบบที่กระทำอย่างมีปัญญา “ปัญญาประดิษฐ์คือการศึกษาเพื่อออกเอเจนต์ที่มีปัญญา”
“AI เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้าง”
 
1. การค้นหาเชิงการจัด
2. คอมพิวเตอร์วิทัศน์
3. ระบบผู้เชี่ยวชาญ
4. การโปรแกรมเชิงพันธุกรรม
5. ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม
6. การแทนความรู้
7. การเรียนรู้ของเครื่อง
8. การวางแผนของเครื่อง
9. ข่ายงานประสาทเทียม
10. การประมวลผลภาษาธรรมชาติ
11. การสังเคราะห์โปรแกรม
12. วิทยาการหุ่นยนต์
13. ชีวิตประดิษฐ์
14. Articial being
15. ปัญญาประดิษฐ์แบบกระจาย
16. Swarm Intelligence

1. การแทน เช่น การแทนความรู้
2. การเรียนรู้ การเก็บความรู้จากสิ่งรอบตัว
3. การค้นหา สำหรับการแก้ปัญหาการคำนวณหาค่าน้ำหนักของ
4. กฎ ข้อมูลที่เป็นจริงถูกต้องที่บรรลุในระบบผู้เชี่ยวชาญโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือข้อมูลที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในระบบ

ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์ในเชิงวัตถุ


1. ข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ในลักษณะคล้ายกับเป็นหน่วยบันทึกความจำขององค์กรกลายเป็นฐานความรู้องค์กร
2. ระบบจะช่วยสร้างกลไกที่ไม่นำความรู้สึก ความเหนื่อยล้า หรือความกังวล เข้ามาเป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากกับงานประเภทที่อันตรายต่อมนุษย์
3. ระบบจะถูกนำมาทำงานในส่วนที่เป็นงานจำเป็น หรือเป็นงานที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับมนุษย์
4. ระบบจะช่วยเพิ่มความสามารถในฐานความรู้ขององค์กร ด้วยการเสนอวิธีแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้าน


ปัญญาประดิษฐ์ ในระบบธุรกิจ


1. fuzzy logic คลุมเครือ บอกไม่ได้ชัดเจน
2. Genetic Algorithms การปรับเปลี่ยนสารพันธุกรรมของยีนส์ หมายถึง วิธีการแก้ปัญหาที่ใช้แนวทางเดียวกับวิธีการที่สิ่งมีชีวิตปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน


ประเภทของปัญญาประดิษฐ์


1. การประมวลภาษาธรรมชาติ ภาษาที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับคอมพิวเตอร์
2. ระบบภาพ การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้โดยอาศัยการมองและการจดจำรูปแบบ
3. ระบบเครือข่ายเส้นประสาท ระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐานสร้างเลียนแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์
4. หุ่นยนต์ เกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการนำไปใช้งาน ให้เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ

การวางแผน

การแก้ปัญหา
ตรรกวิทยาแบบคลุมเครือ

ปัญญาประดิษฐ์จะมีความแตกต่างจากระบบสารสนเทศสามารถสรุปได้ดังนี้
1. AI ทำการประมวลผลทั้งสัญลักษณ์และตัวเลข
2. AI เป็นชุดคำสั่งแบบไม่ดำเนินการตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์
3. ชุดคำสั่งของระบบ AI
 
ระบบผู้เชี่ยวชาญ


คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่จำลองการตัดสินใจของมนุษย์เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง โดยใช้ความรู้และการสรุปเหตุผลเชิงอนุมานในการแก้ปัญหายาก ๆ ที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ระบบผู้เชี่ยวชาญได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานในระบบต่าง ๆ อย่างแพร่หลายมากกว่า 30 ปี
 
ข้อจำกัด ของระบบผู้เชี่ยวชาญ


1. ทำได้ Domain แคบ ๆ
2. ไม่มีสามัญสำนึก
3. เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
4. ใช้ทางด้านการรักษา ใช้แทนได้ไหม เกิดเป็นปัญหาขึ้นมา
คุณสมบัติของระบบผู้เชี่ยวชาญ
1. ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้น
2. จะช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมากพร้อมกัน
3. สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ทำการตัดสินใจได้เป็นอย่างมาก
4. ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญช่วยลดการกึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
6. มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนอย่างมาก


ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ


1. ช่วยรักษาความรู้ที่อาจสูญเสียไป เมื่อเกิดการลาออกของพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ
2. ช่วยทำให้ข้อมูลคุณภาพและมีศักยภาพในการนำมาใช้งานได้อย่างทันท่วงทีเมื่อต้องการ
3. ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่
4. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อาจเกิดกับมนุษย์
5. ใช้เป็นเครื่องมือเชิงกุลยุทธ์ ด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงพัฒนาสินค้า


Expert System สามารถช่วยองค์กรได้


1. การวางแผน
2. การตัดสินใจ
3. การควบคุมดู
4. การวินิจฉัยอาการ
5. การจัดการฝึกอบรม
6. การเรียนรู้
7. การเรียนรู้จากเหตุการณ์
8. การคิดอีกทีก็ให้คำตอบเหมือนเดิม
9. การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ
10. ทักษะความรู้ที่เหนือกว่าค่าปกติ
11. ส่วนประกอบของระบบ
12. ระบบโต้ตอบกับคน
13. ฐานความรู้
14. เสนอวิธีแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะหน้าซึ่งมีปริมาณมากหรือซับซ้อนมากเกินไปสำหรับมนุษย์


Expert System in Action เรานำระบบผู้เชี่ยวชาญมาใช้


1. ระบบธุรกิจ
2. ระบบโทรศัพท์
3. บัตรเครดิต
4. ภาษี
5. ในบริษัทมหาชนขายหุ้น
6. แหล่งแร่ และศัตรูพืช
7. วินิจฉัยโรค
8. การเลือกนักศึกษาเข้าเรียน


การนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน


1. ด้านการผลิต
2. การตรวจสอบ
3. การประกอบชิ้นส่วน
4. ด้านบริการ
5. ด้านการซ่อมแซมโทรศัพท์
6. การตรวจสอบบัญชี
7. การคิดภาษี
8. การวางแผนด้านการเงิน
9. ด้านการลงทุน
10.ด้านบุคคล
11.ด้านการตลาด
12. การอนุมัติสินเชื่อ
13. หน่วยงานด้านบริการของรัฐ
14. การทำนายทางแพทย์

ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรค ระบบที่มีชื่อเสียงเมื่อสิบปีเศษคือระบบ Mycin ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หลักการที่ใช้คือ เก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ให้ละเอียด แล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์มาช่วยวิเคราะห์เป็นแนวคิดในการทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และคิดได้เหมือนคน
 
ส่วนประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ


1. ฐานความรู้ เป็นส่วนที่เก็บความรู้ทั้งหมดของผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมจากการศึกษาและจากประสบการณ์
2. เครื่องอนุมาน เป็นส่วนควบคุมการใช้ความรู้ในฐานความรู้ เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
2.1 การอนุมานแบบไปข้างหน้า
2.2 การอนุมานแบบย้อนหลัง
3. ส่วนดึงความรู้ เป็นส่วนที่ดึงความรู้จากเอกสารตำรา ฐานข้อมูล และผู้เชี่ยวชาญ
4. ส่วนอธิบาย เป็นส่วนที่อธิบายถึงรายละเอียดของข้อสรุปหรือคำตอบที่ได้มานั้น
5. การติดต่อกับผู้ใช้ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ES เนื่องของผู้ใช้จะมีความรู้ในงานสารสนเทศที่แตกต่างกัน
 
การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ


1. การวิเคราะห์ปัญหา ดำเนินการพิจารณาถึงความต้องการความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการนำระบบไปใช้งานในสถานการณ์จริง โดยทำความเข้าใจของปัญหา
2. การเลือกอุปกรณ์ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของ ES ซึ่งแต่ละส่วนจะมีความต้องการอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมแตกต่างกัน
2.1 การแสดงความรู้
2.2 เครื่องอนุมาน
2.3 การติดต่อกับผู้ใช้
2.4 ชุดคำสั่ง
2.5 การธำรงรักษาและการพัฒนาระบบ
3. การถอดความรู้ ผู้พัฒนาระบบต้องทำการสังเกต ศึกษา และทำความเข้าใจกับความรู้ที่นำมาพัฒนาเป็น ES จากแหล่งอ้างอิง หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น
4. การสร้างต้นแบบ ผู้พัฒนา ES จะนำเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวมามาประกอบการสร้างต้นแบบของES โดยผู้พัฒนาระบบจะเริ่มต้นจากการนำแนวความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบที่ต้องการพัฒนามาจัดเรียงลำดับ
5. การขยาย การทดสอบและบำรุงรักษา หลังจากที่ต้นแบบได้ถูกสร้างขึ้นและสามารถผ่านการทดสอบการทำงานแล้ว เพื่อที่จะให้ระบบสามารถนำไปใช้ในสภาวการณ์จริงได้ก็จะต้องทำการขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นจากต้นระบบ


ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ


1. ช่วยรักษาความรู้ที่อาจสูญเสียไป เมื่อเกิดการลาออกของพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ
2. ช่วยทำให้ข้อมูลมีคุณภาพ และมีศักยภาพในการนำมาใช้งานได้อย่างทันท่วงทีเมื่อต้องการ
3. ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่
4. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อาจเกิดกับมนุษย์
5. ใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงพัฒนาสินค้า


ตัวอย่างของ ES


1. การตรวจสอบ
2. การบริการ
3. การวินิจฉัยโรค
4. การให้สัญญาณเตือน
5. การพยากรณ์อากาศ


ระบบเครือข่ายเส้นประสาท


นักวิทยาศาสตร์พยายามสังเกต ศึกษา และเลียนแบบการทำงานของระบบเส้นประสาทและสมองมนุษย์ เพื่อนำมาประยุกต์ในการทำงาน และการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการทำงานใกล้เคียงกับการทำงานของสมองมนุษย์มากขึ้น ระบบประสาทประกอบด้วย เซลล์ประสาท ซึ่งเปรียบเสมือนหน่วยประมวลผลย่อย ที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นจากภายนอกหรือเซลล์ประสาทอื่น โดยปกติมนุษย์มีเซลล์ประสาทอยู่ถึงล้านล้านเซลล์ โดยแต่ละเซลล์จะเชื่อมโยงต่อเนื่อง เป็นระบบเครือข่ายที่ซับซ้อน
ระบบเครือข่ายเส้นประสาทจะต้องประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่ต่อเรียงกันเข้าเป็นระบบอย่างน้อยสองระดับ โดยระดับแรกเรียกว่า ระดับนำเข้า ทำหน้าที่รับสิ่งของนำเข้า จากสิ่งแวดล้อมภายนอก เข้าสู่ระบบแล้วทำการส่งต่อให้เครือข่ายในระดับถัดไปตามหน้าที่และความสัมพันธ์ที่ถูกกำหนด ระดับสุดท้าย เรียกว่า ระดับแสดงผลลัพธ์ ประกอบด้วยหน่วยแสดงผลที่ติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้


ความรู้


ความรู้ เป็นสิ่งที่ยากที่จะกำหนดขอบเขตของความหมายแต่ถ้าเราเริ่มจากคำว่า “ข้อมูล” หรือ “ข้อเท็จจริง” สิ่งที่ได้คือความจริงต่าง ๆ ที่ปรากฏเกิดขึ้นการดำเนินการต่าง ๆ ทำให้เกิดข้อมูล เมื่อมีการเก็บข้อมูลก็มีการประมวลผล เพื่อให้ได้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการ การที่มีข่าวสารที่เกิดการประมวลผลบางทีเรียกว่า สารสนเทศ

ความรู้ หมายถึง ระดับของภูมิปัญญาในการรับรู้และการทำความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยที่ความรู้กับข้อมูลจะมีความใกล้เคียงกันในหลายลักษณะ มีความแตกต่างตามหลักด้านวิศวกรรม 2 ประการ คือ ความชัดเจน และ ความเป็นสากล
 
ฐานความรู้ และการเรียนรู้ขององค์กร

ความซับซ้อน
ความรอบรู้มาจากข้อมูล ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มากขึ้น มีการเก็บรวบรวมข้อมูล คิดค้นหาเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้มากและรวดเร็วเราใช้บาโค้ด ใช้เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก


การจัดการความรอบรู้


วิธีการจัดการความรอบรู้จึงเป็นเทคนิคที่ผสมผสานวิธีการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ตั้งแต่เรื่องการจัดการฐานข้อมูล ดาต้าแวร์เฮาส์ ดาต้าไมนิง ระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ในองค์กร
ในระบบการจัดการองค์กร มี CIO ทำหน้าที่ดูแลระบบสารสนเทศขององค์กร
 
ศาสตร์ของการจัดการความรอบรู้ยังกว้าง


1. ระบบผู้ชำนาญการ
2. Visualization การนำเอาข้อมูลมาแสดงผล
3. ฟัซซีลอจิก เป็นสาสตร์แห่งการแยกแยะความกำกวม หรือการแก้ปัญหา


การประมวลผลธรรมชาติ NLP


1. เพื่อทำให้ระบบเชื่อมโยงกับมนุษย์ง่ายต่อการใช้งานและมีความเข้าใจร่วมกันระหว่างเครื่องจักรกับมนุษย์
2. นิวรอลคอมพิวติง การดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาและให้ระบบมีวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา
3. การประมวลผลภาพและการประมวลผลเสียง


อนาคตการจัดการความรู้

ด้วยขีดความสามารถของความจุ และความเร็วที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้เพิ่มขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการข้อมูลข่าวสารจึงเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้น

การเก็บรวบรวมความรู้

ความเชี่ยวชาญในเรื่องแคบมาก ๆ ความรู้ผู้เชี่ยวชาญจะถูกเก็บในรูปแบบของกฎพื้นฐาน ไว้ในหน่วยบันทึกความจำขององค์กร

โครงสร้างของความรู้

คุณสมบัติที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งอยู่ในลักษณะการใช้งานร่วมกัน มากกว่าเป็นโครงสร้างลำดับชั้น แนวความคิดนี้เป็นการเลียนแบบความคิดของมนุษย์ มีการกำหนดกรอบความรู้ หรือนิยามของสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับอวัยวะในการรับรู้
เป็นปัญหาใหญ่ของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน งานการบริหาร งานดำเนินการในองค์กร มีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม การแข่งขันเชิงธุรกิจทำให้พัฒนาองค์กรในทุก ๆ ด้าน
การเล่นเกมเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการจัดตารางการทำงานให้ลงตัวภายใต้เงื่อนไขอันมากมาย และเสนอทางเลือกที่ดีที่สุดได้ ระบบเจเนติกอัลกอริทึมฟัสซีโลจิก ระบบเครือข่ายนิวรอน และระบบผู้เชี่ยวชาญ สามารถนำมาบูรณาการ เข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว เพื่อเลือกใช้แต่ส่วนที่ดีที่สุดของเทคโนโลยีแต่ละอย่าง

เทคนิคของปัญญาประดิษฐ์


สาขาของปัญญาประดิษฐ์


นิยามของปัญญาประดิษฐ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น